ขั้นตอนการส่งตัวอย่าง

คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ

1.การเก็บเลือด เพื่อการตรวจวิเคราะห์ (Hematology)

2. การตรวจวิเคราะห์เคมีคลินิคด้วยเครื่องอัตโนมัติ Cobas C311 (Clinical Chemistry)

3. การตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อมทางจุลชีววิทยา (Environment Microbiology)

4.การตรวจวินิจฉัยทางด้านจุลชีววิทยา จากตัวอย่างสัตว์ทดลองและสารคัดหลั่ง (Microbiology)

ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติมีโปรแกรมการตรวจคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลอง (Health Monitoring program) เพื่อเฝ้าระวังเชื้อจุลชีพที่ก่อโรคในสัตว์ทดลองตามที่ The Federation of European Laboratory Animal Science Associations (FELASA) และ International Council for Laboratory Animal Science (ICLAS) Guideline กำหนด โดยโปรแกรมการตรวจคุณภาพสุขภาพของสัตว์ทดลอง ได้อ้างอิงขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยเชื้อจุลินทรีย์ในสัตว์ทดลองของ Central Institute for Experimental Animals (CIEA) นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการ Cultivation I ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติยังรับบริการตรวจหาเชื้อจุลชีพ (Bacteria, Mycoplasma และ Dermatophyte) ในสิ่งส่งตรวจของสัตว์ทดลองอีกด้วย

Blood
– ปริมาณที่ต้องการคืออย่างน้อย 200 ไมโครลิตร เก็บใส่ในหลอดที่สะอาดปราศจากเชื้อ
– นำส่งภายใน 2 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Abscess
– หากเป็นแผลเปิดให้เช็ดหนองที่อยู่ส่วนบนของแผลทิ้งและใช้ Sterile swab ป้ายหนองบริเวรแผลที่อยู่ลึกลงไปและบริเวณขอบแผล จากนั้นจุ่มไม้ swab ลงใน Stuart’s medium หรือ Transport medium ที่เหมาะสม
– หากเป็นแผลปิดให้ใช้ Syringe เจาะดูดหนองออกมาและใส่ในหลอดที่สะอาดปราศจากเชื้อ
– นำส่งภายใน 2 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Laryngotracheal swab (สำหรับ Mouse, Rat, Hamster, GP และ Rabbit)
– ใช้ Sterile swab จุ่ม Normal saline ที่ปราศจากเชื้อ จากนั้นสอดเข้าไปใน Trachea โดยหมุนไม้ Swab ให้สัมผัสกับผนัง Trachea จากนั้นจุ่มไม้ Swab ลงใน Stuart’s medium หรือ Transport medium ที่เหมาะสม
– นำส่งภายใน 2 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Nasal swab (สำหรับ GP และ Rabbit)
– ใช้ Sterile swab จุ่ม Normal saline ที่ปราศจากเชื้อ จากนั้นสอดเข้าไปในรูจมูก โดยหมุนไม้ Swab ให้สัมผัสกับผนังด้านในของรูจมูก จากนั้นจุ่มไม้ Swab ลงใน Stuart’s medium หรือ Transport medium ที่เหมาะสม
– นำส่งภายใน 2 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Feces หรือ Cecal contents
– ปริมาณที่ต้องการคืออย่างน้อย 200 มิลลิกรัม เก็บใส่ในภาชนะที่สะอาดปราศจากเชื้อ
– นำส่งภายใน 2 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

Hair หรือ Fur
– ให้ใช้ Sterile forcep ดึงขนจากบริเวณรอบๆ lesion ใส่ลงในภาชนะที่สะอาดปราศจากเชื้อ
– นำส่งภายใน 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง

ติดต่อสอบถาม
งาน Cultivation หน่วยตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ งานบริการวิชาการ
ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ม.มหิดล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
โทร 02-441-942 ต่อ 118 หรือ 154
E-mail : jirawat.khn@mahidol.edu

5. ตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อที่เป็นสาเหตุก่อโรคในสัตว์ทดลองด้วยวิธี RT-PCR

6. ตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อที่เป็นสาเหตุก่อโรคในสัตว์ทดลอง (Serology)

7. การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ (Urinalysis)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยกลยุทธการตลาด

โทร  0-2441-9699 (สายตรง)
โทร  0-2441-9342, 0-2441-9698 ต่อ 111, 152
หรือ ส่งรายละเอียดมาได้ที่ e-mail : nlacserv@mahidol.ac.th
Line ID : @342dwjzu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ การตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ (https://nlac.mahidol.ac.th) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไซต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย การทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

บันทึก