ภารกิจหลักของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ คือ การผลิต และให้บริการสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพตามมาตฐานสากล ศูนย์ฯ จึงได้มีการนำระบบมาตฐานที่มีความสอดคล้อง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานผลิตสัตว์ทดลอง งานบริการ รวมทั้งงานตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองมาใช้กำกับ เป็นการพัฒนาการจัดทำระบบการประกันคุณภาพภายในและเพื่อเป็นการสนับสนุนภารกิจหลักดังกล่าว
โดยระบบมาตรฐานที่ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ ได้ดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. ระบบมาตรฐานสากล (International Standard)
– ISO 9001 : 2015
– ISO 45001 : 2018
– AAALAC International
– PEP
– OECD GLP/GLP
2. ระบบมาตรฐานมหาวิทยาลัย
– MUQD EdPEx
– ระบบการควบคุมภายใน
เป็นระบบที่สามารถทำให้ศูนย์ฯ ผลิตสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในสินค้า และบริการ นอกจากนี้ยังทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในการผลิต แก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ รวมทั้งบุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นระบบ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ในการจัดทำระบบ
พัฒนาระบบการผลิตสัตว์ทดลอง ทำให้สัตว์ทดลองมีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความมั่นใจในสินค้าและบริการ นอกจากนี้ยังทำให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนในการผลิต แก้ไขและป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ ส่งเสริมและสนับสนุน ให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทุกระดับ ดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย พัฒนาระบบการผลิตสัตว์ทดลองภายใต้
(1) ระบบการเลี้ยงที่สามารถส่งเสริมให้สัตว์ทดลองมีความเป็นอยู่และสวัสดิภาพที่ดีในระดับสากล และ
(2) การดูแลทางการแพทย์โดยสัตวแพทย์ที่เหมาะสม เพื่อให้การดูแลและใช้สัตว์ทดลองตามเป็นไปตามมาตรฐานสากลพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลอง ให้เป็นห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถเฉพาะทาง ในการตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองและชีววัตถุ
ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต จึงได้กำหนดนโยบายคุณภาพ ดังนี้
“มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ
ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นและพึงพอใจ”
เป็นระบบที่ส่งเสริมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ในการดำเนินการต่างๆ ของศูนย์ฯ และลดค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ ในด้านบุคลากรและทรัพย์สิน
นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เป็นระบบมุ่งเน้นคุณภาพและสวัสดิภาพของทั้งสัตว์ทดลอง รวมทั้งความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน เป็นการยืนยันว่ามีการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองที่ถูกต้องตามจรรยาบรรณ และตามมาตรฐานในระดับสูง (Symbolized Quality) ทำให้มีผลการทดลองของผู้ใช้สัตว์มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ (Promote Scientific Validation) เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่าย และดึงดูดผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลอง (Recruiting Tool) แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบอย่างสูงต่อจรรยาบรรณการเลี้ยงและการใช้สัตว์ (Accountability) มีระบบการจัดการเพื่อการทบทวนกระบวนการเลี้ยงและการใช้สัตว์ที่เหมาะสม (Confidential Peer Review)
เป็นโครงการประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการสำหรับการวินิจฉัยชันสูตรของ International Council for Laboratory Animal Science (ICLAS) เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพสัตว์ทดลองมีความ สามารถตรวจวินิจฉัยสุขภาพสัตว์ทดลอง เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้ผลการตรวจวินิจฉัยเป็นที่น่าเชื่อถือ เกิดความร่วมมือระหว่างห้องปฏิบัติการ และสามารถพัฒนาไปสู่ศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสัตว์ทดลองของประเทศไทย
ศูนย์ฯ ดำเนินการทดสอบในสัตว์ทดลองในระยะก่อนคลินิกที่เป็นไปตามหลักการของ The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) Good Laboratory Practice (GLP): OECD GLP หรือ GLP ภายใต้ขอบเขตการทดสอบความเป็นพิษทางปากแบบเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง (OECD/OCDE420, OECD/OCDE423)
อ่านเพิ่มเติมคลิ๊ก
ใบรับรอง OECD GLP http://blqs.dmsc.moph.go.th/assets/GLP/CertificateNLAC2021.pdf
มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดให้มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพแห่งชาติ ปี 2557-2558 (TQA Criteria for Performance Excellence 2557-2558) หรือ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) ซึ่งนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย โดยการปรับระบบคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) เข้าสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx ) ในปีงบประมาณ 2558
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริต ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินและการดำเนินงาน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบาย โดยศูนย์ฯ ได้มีการประเมินความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่
(1) ด้านกลยุทธ์ ( Strategic Risk)
(2) ด้านการดำเนินงาน (Operational Risk)
(3) ด้านการเงิน (Financial Risk)
(4) ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/ระเบียบ/ข้อบังคับ/ประกาศ (Compliance Risk)
คลิกที่นี่ เพื่อดูราคาสินค้า หรือ คลิกที่นี่ เพื่อดูผลิตภัณฑ์ตามหมวดสินค้า
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ การตั้งค่าคุกกี้