นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
- โภชนาการ (Nutrition) หนูตะเภามีความต้องการสารอาหารสูง โดย เฉพาะ กรด Folic, Thiamine, Arginine และ Potassium เหมาะสำหรับ ศึกษาด้านโภชนาการ เป็นต้น
- จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การทดสอบกับเชื้อ Coxiella burnetii, Mycobacterium sp. และ Listerisium sp. เป็นต้น
- พยาธิวิทยา (Pathology) หนูตะเภานิยมใช้ในงานวิจัยด้านโรคภูมิแพ้และใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาบาดแผล กระดูก ฟัน และโรคกระดูกพรุน และมีการนำไปใช้ในการทดสอบยากันแมลงโดยใช้เป็นแหล่งอาหารของแมลงดูดกินเลือด
- สรีรวิทยา (Physiology) หนูตะเภามีโครงสร้างหูที่เหมาะสมต่อการศึกษาเกี่ยวกับช่องหู และลูกหนูแรกเกิดใช้ในการศึกษาด้านประสาทวิทยา