หลักการเลือกใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัย
1. แหล่งผลิตที่มีประวัติการสืบสายพันธุ์
2. มีข้อมูลทางด้านพันธุกรรมและมีคุณสมบัติทาพันธุกรรมคงที่
3. ระบบการเลี้ยงและการจัดการที่ดี
4. มีความพร้อมให้บริการทุกรูปแบบและต่อเนื่อง
5. มีการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพและเผยแพร่รายงานสม่ำเสมอ
ปริมาณสัตว์ทดลองที่นำไปใช้ในงานวิจัย
ICR mouse : นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
– จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านแบคทีเรีย , ไวรัส , เชื้อรา , ปรสิต เป็นต้น
– พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาเนื้องอก (Oncology), ศึกษาเปรียบเทียบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ (Comparative pathology study) เป็นต้น
– เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing) , ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing) , การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
– สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ เป็นต้น
Wistar rat และ Sprague Dawley rat : นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
– โภชนาการ (Nutrition) ได้แก่ การศึกษาประโยชน์และโทษของโภชนะต่างๆ เป็นต้น
– พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาด้านการเกิดเนื้องอก เป็นต้น
– เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
– สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ, ระบบไหลเวียนเลือด , พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral study) เป็นต้น
Dunkin Hartley Guinea-pig : นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
– โภชนาการ (Nutrition) หนูตะเภามีความต้องการสารอาหารสูง โดย เฉพาะ กรด Folic, Thiamine, Arginine และ Potassium เหมาะสำหรับ ศึกษาด้านโภชนาการ เป็นต้น
– จุลชีววิทยา(Microbiology)ได้แก่การทดสอบกับเชื้อCoxiella burnetii, Mycobacterium sp. และ Listerisium sp. เป็นต้น
– พยาธิวิทยา (Pathology) หนูตะเภานิยมใช้ในงานวิจัยด้านโรคภูมิแพ้และใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาบาดแผล กระดูก ฟัน และโรคกระดูกพรุน และ มีการนำไปใช้ในการทดสอบยากันแมลงโดยใช้เป็นแหล่งอาหารของแมลงดูดกินเลือด
– สรีรวิทยา (Physiology) หนูตะเภามีโครงสร้างหูที่เหมาะสมต่อการศึกษาเกี่ยวกับช่องหู และลูกหนูแรกเกิดใช้ในการศึกษาด้านประสาทสรีรวิทยา
New Zealand White rabbit : นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
– พยาธิวิทยา (Pathology) กระต่ายเป็นแหล่งของสารที่เร่งให้เกิดลิ่มเลือด และนิยมนำเลือดไปผลิตแอนตี้ซีรั่ม เป็นต้น
– สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
– เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ การตั้งค่าคุกกี้