การการุณยฆาต (Euthanasia)

           การการุณยฆาต (Euthanasia) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรแกรมการดูแลทางการแพทย์โดยสัตวแพทย์ของหน่วยงานที่มีการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยงหรือสิ้นสุดงานวิจัยต่างๆ เพื่อการปลดสัตว์ทดลองที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม (Culling) การตรวจสอบคุณภาพ การตรวจวินิจฉัยสัตว์ป่วย หรือเป็นการระงับความเจ็บปวด หรือความทรมานที่ไม่สามารถบรรเทาด้วยยาระงับปวด ยากดประสาท หรือวิธีรักษาอื่นๆ เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อสิ้นสุดการวิจัย มีกระบวนการทำให้สัตว์ตายอย่างสงบ มีมนุษยธรรม และบรรลุวัตถุประสงค์ตามความเหมาะสม (NRC, 2011)

การุณยฆาต หรือ Euthanasia เป็นภาษากรีก ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ Eu หมายถึง Good และ Thanatos หมายถึง Death โดยแปลรวมความได้ว่า กระบวนการที่ทำให้สัตว์ตายอย่างสงบโดยมีมนุษยธรรม ซึ่งควรจะทำให้สัตว์หมดความรู้สึกอย่างรวดเร็วและตายโดยปราศจากความเจ็บปวดหรือความทรมาน โดยมีลักษณะของการตายที่ดี (Good death) คือ การตายหรือหมดความรู้สึกโดยที่เกิดความเจ็บปวดและความเครียดน้อยที่สุด (AVMA, 2013)

เกณฑ์การพิจารณาให้สัตว์ตายอย่างสงบ หรือ Humane endpoint จะทำเมื่อสิ้นสุดการเลี้ยง งานวิจัย หรือ การใช้งาน รวมถึงสัตว์ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะทำการวิจัยต่อ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สัตว์ตายอย่างสงบ (University of Minnesota, 2009) ดังนี้

  • สูญเสียน้ำหนักตัว (Weight loss) คือ การสูญเสียน้ำหนัก 20-25 % ของน้ำหนักตัว นับจากวันที่เริ่มใช้งานหรือทดลอง ซึ่งอาจสังเกตจากการเจริญเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น ลักษณะผอมแห้ง หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรง
  • การเบื่ออาหาร (Inappetance) คือ การที่สัตว์ไม่กินอาหารและน้ำ โดยในกลุ่มสัตว์ฟันแทะ ได้แก่ หนูเมาส์ หนูแรท หนูตะเภา และกระต่าย จะพิจารณาจากการไม่กินอาหารนาน 24 ชั่วโมง หรือได้รับพลังงานน้อยกว่า 50% ของที่ต้องการในแต่ละวันเป็นเวลา 3 วัน
  • อ่อนเพลีย (Weakness) คือ สัตว์แสดงอาการอ่อนแรง ไม่มีความสามารถในการไปกินน้ำหรืออาหารเองได้
  • ภาวะใกล้ตาย (Moribund state) ในสัตว์ฟันแทะ พิจารณาจากการที่สัตว์ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้น หรือสัตว์ไม่ตอบสนองหลังจากฟื้นจากการให้ยาสลบ
  • ภาวะร่างกายมีการติดเชื้อ (Infection) คือ การที่สัตว์มีอุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติ หรือค่าเม็ดเลือดขาวสูง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และแสดงอาการของการเป็นไข้

ภาวะผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย หรือการไม่ตอบสนองต่อการรักษาและได้พิจารณาโดยสัตวแพทย์แล้ว ดังนี้

  • อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก (Dyspnea) เยื่อเมือกมีสีคล้ำ (Cyanosis)
  • อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เยื่อเมือกซีดจากการสูญเสียเลือด หรือโลหิตจางซึ่งส่งผลให้ค่าเซลล์เม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hematocrit) ต่ำถึง 20%
  • อาการทางระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น สัตว์มีอาการอาเจียนหรือท้องเสียอย่างรุนแรง ลำไส้อุดตัน (Obstruction) ลำไส้กลืนกัน (Intussusception) และ ช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) เป็นต้น
  • อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและสืบพันธุ์ เช่น ไตสูญเสียหน้าที่ (Renal failure) โดยมีค่า BUN (Blood urea nitrogen) และ Creatinine เพิ่มขึ้น
  • อาการทางระบบประสาท เช่น สัตว์มีอาการซึม (Depression) ชัก (Seizures) หรือเป็นอัมพาต (Paralysis) โดยไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อถูกทำลาย การบาดเจ็บของกระดูก ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถใช้ขาหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้
  • อาการทางระบบผิวหนัง เช่น สัตว์มีแผลเรื้อรัง
  • การการุณยฆาตในสัตว์ทดลองนั้นมีวิธีปฏิบัติหลายวิธี โดยจะต้องเป็นวิธีที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อตัวสัตว์น้อยที่สุด ไม่ส่งผลกระทบต่องานวิจัย รวมถึงมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น ผู้ทำการการุณยฆาตควรเป็นบุคคลที่มีความชำนาญในวิธีปฏิบัติ สัตวแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง ควรดูแลให้คำแนะนำ และวางแนวทางการปฏิบัติ รวมทั้งดำเนินการฝึกอบรม และตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากระบวนการการุณยฆาตมีการดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปอย่างมีจริยธรรม มนุษยธรรม และสวัสดิภาพที่ดีของสัตว์ทดลอง

    References

    American Veterinary Medical Association (AVMA). 2013. AVMA Guidelines on Euthanasia (Formerly Report of the AVMA Panel on Euthanasia). [Online]. Available: https://www.avma.org/KB/Policies/Documents/euthanasia.pdf

    National research council (NRC). 2011. Guide for the care and use of Laboratory animals 8th edition. National Academic Press, D.C. pp. 123-124.

    University of Minnesota. 2009. Euthanasia Guidelines. [Online]. Available: http://www.ahc.umn.edu/rar/euthanasia.html

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ การตั้งค่าคุกกี้

    Privacy Preferences

    เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ (https://nlac.mahidol.ac.th) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไซต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย การทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม

    ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
    Manage Consent Preferences
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      Always Active

      คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

    บันทึก