ในปัจจุบันงานวิจัยทางวิทยาศาตร์การแพทย์มีการพัฒนาการใช้สัตว์ทดลองเพื่อศึกษาในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น หนึ่งในการศึกษาที่กำลังได้รับความสนใจคือ การศึกษาในสัตว์ตัวแบบหรือที่เรียกว่า Animal model ซึ่งหมายถึง สัตว์ที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่เราต้องการศึกษา (ที่มา; สำนักงานมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์) ในงานวิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะความเจ็บป่วยของมนุษย์ จะมีการใช้สัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยวิธีการต่างๆ ให้เกิดภาวะความผิดปกติที่ผู้ศึกษาสนใจเป็นตัวแทนในการศึกษานั้น และจากรูปแบบในการศึกษานี้อาจทำให้สัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือมีความผิดปกติในการดำรงชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสัตว์ทดลองตามมาตรฐานสากลรวมทั้งเรื่องของจรรยาบรรณในการใช้สัตว์จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด
การศึกษาใน Animal model ถือเป็นการศึกษาอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักวิจัย ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นอย่างมาก จากความสำคัญดังกล่าว สำนักงานการสัตวแพทย์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงศึกษาและพัฒนาเกี่ยวกับการทำ Animal model อย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการพัฒนา Animal model ด้วยวิธีการผ่าตัด (Surgical animal model) ซึ่ง Surgical animal model ที่กำลังพัฒนาได้แก่
– การทำ Arterio-Venous shunt สร้างทางเชื่อมระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ ให้การไหลเวียนเลือดจากเส้นเลือดแดงไปยังเส้นเลือดดำโดยตรง เพื่อใช้เป็น Animals model สำหรับงานวิจัยและงานทดสอบต่างๆ เช่น กลไกการทำงานและการออกฤทธิ์ของยาหรือสารต่างๆต่อการออกฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Takayuki et al., 2012 )
– การผ่าตัดต่อมพิทูอิทารีในหนูแรท (Development of Hypophysactomized Rat) สำหรับรองรับงานวิจัยในประเทศที่ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ Growth hormone ในระดับก่อนคลินิก (Preclinical trail) (Closset et al., 1991)
– การทำ Ovariectomy โดยการผ่าตัดเอารังไข่ของสัตว์ทดลองเพศเมียออกไปเพื่อเป็น Animal model สำหรับงานวิจัยหรืองานทดสอบต่างๆ เช่น การขาดฮอร์โมน Estrogen ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในสัตว์ทดลอง (Jee and Yao, 2001)
– การทำ Splenectomy, Adrenalectomy, Jugular vein catheterization, Simple injectable implant, Biomaterial bone implantation with craniotomy และ Biomaterial bone implantation in long bone อยู่ในระหว่างการศึกษาพัฒนา เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยหรืองานทดสอบต่อไป
ปัจจุบัน Animal model บางส่วนได้ถูกนำไปใช้ในโครงการวิจัยต่างๆแล้ว และบางส่วนอยู่ในระหว่างศึกษาพัฒนาและจัดทำคู่มือปฏิบัติการการผ่าตัด เพื่อเป็นข้อมูล และแนวทางในการดำเนินการพัฒนา Animal model ด้วยวิธีการผ่าตัด แก่สัตวแพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้, รองรับงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ และขยายผลการศึกษาในเรื่องอื่นๆต่อไป
แหล่งที่มา :
Closset, J., D. Dombrowicz, M. Vandenbroeck, and G. Hennen. 1991. Effects of bovine, human and rat growth hormones on immature hypophysectomized rat testis. Growth Regul 1(1):29-37.
Jee WS and Yao W. 2001. Overview: animal models of osteopenia and osteoporosis. J Musculoskelet Neuronal Interact 1(3): 193-207
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ การตั้งค่าคุกกี้
เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ (https://nlac.mahidol.ac.th) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไซต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมาย การทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม
ยอมรับคุกกี้ทั้งหมดคุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น