หลักการใช้สัตว์ทดลอง

หลักการเลือกใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัย

แหล่งผลิตที่มีประวัติการสืบสายพันธุ์
มีข้อมูลทางด้านพันธุกรรมและมีคุณสมบัติทาพันธุกรรมคงที่
ระบบการเลี้ยงและการจัดการที่ดี
มีความพร้อมให้บริการทุกรูปแบบและต่อเนื่อง
มีการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพและเผยแพร่รายงานสม่ำเสมอ

ปริมาณสัตว์ทดลองที่นำไปใช้ในงานวิจัย

ICR mouse
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้

จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านแบคทีเรีย , ไวรัส , เชื้อรา , ปรสิต เป็นต้น
พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาเนื้องอก (Oncology), ศึกษาเปรียบเทียบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ (Comparative pathology study) เป็นต้น
เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing) , ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing) , การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ เป็นต้น

Wistar rat และ Sprague Dawley rat
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้

โภชนาการ (Nutrition) ได้แก่ การศึกษาประโยชน์และโทษของโภชนะต่างๆ เป็นต้น
พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาด้านการเกิดเนื้องอก เป็นต้น
เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ, ระบบไหลเวียนเลือด , พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral study) เป็นต้น

Dunkin Hartley Guinea-pig
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้

โภชนาการ (Nutrition) หนูตะเภามีความต้องการสารอาหารสูง โดย เฉพาะ กรด Folic, Thiamine, Arginine และ Potassium เหมาะสำหรับ ศึกษาด้านโภชนาการ เป็นต้น


จุลชีววิทยา(Microbiology)ได้แก่การทดสอบกับเชื้อCoxiella burnetii, Mycobacterium sp. และ Listerisium sp. เป็นต้น


พยาธิวิทยา (Pathology) หนูตะเภานิยมใช้ในงานวิจัยด้านโรคภูมิแพ้และใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาบาดแผล กระดูก ฟัน และโรคกระดูกพรุน และ มีการนำไปใช้ในการทดสอบยากันแมลงโดยใช้เป็นแหล่งอาหารของแมลงดูดกินเลือด


สรีรวิทยา (Physiology) หนูตะเภามีโครงสร้างหูที่เหมาะสมต่อการศึกษาเกี่ยวกับช่องหู และลูกหนูแรกเกิดใช้ในการศึกษาด้านประสาทสรีรวิทยา


New Zealand White rabbit
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้

พยาธิวิทยา (Pathology) กระต่ายเป็นแหล่งของสารที่เร่งให้เกิดลิ่มเลือด และนิยมนำเลือดไปผลิตแอนตี้ซีรั่ม เป็นต้น


สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ เป็นต้น

เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น

Related posts