การวางยาสลบสัตว์ทดลอง (ตอนที่ 1)

การวางยาสลบสัตว์ทดลองเป็นองศ์ประกอบหนึ่งของโปรแกรมการดูแลทางการแพทย์โดยสัตวแพทย์ของ หน่วยงานที่มีการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง โดยเป็นความจำเป็นทั้งในเชิงจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง และความจำเป็น ทางด้านวิทยาศาสตร์ (NRC, 1996) ซึ่งการวางยาสลบสัตว์ทดลองทำได้หลายวิธี รวมทั้งการใช้ยาสลบชนิดเดียว หรือใช้ยาสลบหลายชนิดร่วมกัน โดยมีระดับของการสลบที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยที่ทำให้การวางยาสลบครั้งนั้น มีประสิทธิภาพ จะต้องพิจารณาการเลือกยาสลบ

การวางยาสลบสัตว์ทดลอง (ตอนที่ 2)

ยาสลบชนิดดมสลบ เป็นยาสลบที่ใช้ วิธีการสูดดมเพื่อบริหารยาเข้าสู่ร่างกายสัตว์โดยใช้ เครื่องดมยาสลบ ซึ่งประกอบด้วย vaporizer ทำหน้าที่ควบคุมระดับการระเหยของก๊าซสลบให้มีความเข้มข้นของก๊าซตามที่ปรับปรับตั้ง และ breathing system ทำหน้าที่นำก๊าซสลบเข้าสู่ร่างกายสัตว์และนำอากาศที่ใช้แล้วออกจากร่างกายสัตว์ในสัตว์ฟันแทะนิยมใช้แบบ T-piece system และ Bain Coxial system เนื่องจากมี dead space ต่ำ (Flecknell, 2009)

แหล่งผลิต “ตัวแทนชีวิตคน”

อะไรบ้างคือสัตว์ทดลอง เมื่อพูดถึง “สัตว์ทดลอง” คนทั่วไปมักมุ่งเน้นไปที่กลุ่มสัตว์พวกหนูเม้าส์ หนูแรท หนูตะเภา และกระต่าย แต่ในทางวิทยาศาสตร์สัตว์ทดลองแล้วไม่เพียงแค่นั้น สัตว์ทดลอง หมายถึง สัตว์ชนิดใดก็ตามที่นำมาใช้ในงานวิจัย งานทดสอบหรือใช้สำหรับศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโรค การผลิตชีววัตถุและวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาโรค นอกเหนือจากสัตว์ชนิดต่างๆ ข้างต้น สุนัข แมว นก สัตว์กีบ ตลอดจนสัตว์เลือดเย็นบางชนิดก็ถูกนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองได้หากสัตว์เหล่านั้นได้รับการควบคุมตามเงื่อนไขของการใช้เพื่องานวิจัย สิ่งที่นักวิจัยต้องการคือ ผลงานวิจัยที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ซึ่งย่อมขึ้นกับกระบวนการที่เหมาะสม ถูกต้อง และสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับงานวิจัย ทำไมต้องมีสัตว์ทดลอง สัตว์ทดลองมีไว้เพื่อ… ๑. เป็นทางเลือกสำหรับคน ๒. ให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๓. ให้สังคมมีสุขขึ้น สัตว์ทดลองเป็นตัวแทนในการศึกษา โดยเฉพาะการทำให้คนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม เพราะถ้าไม่มีสัตว์ทดลองเป็นตัวเริ่มให้มีการศึกษา การศึกษาทั้งหมดจะต้องมาที่คน และใช้คนเป็นสัตว์ทดลอง ดังนั้น สัตว์ทดลองเป็นตัวแทนชีวิตของคนที่อยู่ในโลก สามารถจัดการให้การทดลองได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง นั่นคือคนอยากจะรู้อะไร แทนที่จะเอาความอยากรู้นั้นไปศึกษากับคนโดยตรง ที่สำคัญ “คน” มีความรู้สึก มีความเจ็บปวด มีความคิด ปกปิดความเป็นจริงเอาไว้ได้ กรณีที่ ๑ นำยาตัวหนึ่งใส่ในคน คนบางคนอาจจะบอกว่าไม่เจ็บ ทั้งๆ ที่เจ็บ แต่เขาปิดบัง แต่สัตว์ทดลองไม่บอก เพราะเจ็บคือเจ็บ และควบคุมได้ทั้งหมด กรณีที่ ๒ ต้องการศึกษาความเป็นพิษของยา ใช้เวลาศึกษา ๖ เดือน และต้องให้ขนาดของยาเท่านี้กรัมต่อวัน แต่ใช้กับคนคุมไม่ได้ เมื่อนำสัตว์ทดลองควบคุมสภาพแวดล้อม องค์ประกอบที่มาจากสภาพแวดล้อมไม่มีเพราะควบคุมได้ แต่เป็นคนไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ กลุ่มไหน ใช้สัตว์ทดลอง ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์สอนกายวิภาคศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ที่ใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัยฤทธิ์ของยา การผ่าตัด ยาสมานแผล ดูชนิดของไหมเย็บแผลว่าตัวไหนให้ประสิทธิภาพดีกว่า สามารถละลายและไม่มีผลต่อร่างกาย ปริมาณการใช้สัตว์ทดลอง ปีละประมาณ ๓ แสนตัวต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้ใช้สัตว์ทดลองต้องการสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพ หมายความว่า ผู้ใช้จะเรียกร้องใบรับรองคุณภาพสัตว์ทดลอง ว่ามีคุณภาพอย่างไร…

หลักการใช้สัตว์ทดลอง

หลักการเลือกใช้สัตว์ทดลองในงานวิจัย แหล่งผลิตที่มีประวัติการสืบสายพันธุ์มีข้อมูลทางด้านพันธุกรรมและมีคุณสมบัติทาพันธุกรรมคงที่ระบบการเลี้ยงและการจัดการที่ดีมีความพร้อมให้บริการทุกรูปแบบและต่อเนื่องมีการตรวจสอบคุณภาพสุขภาพและเผยแพร่รายงานสม่ำเสมอ ปริมาณสัตว์ทดลองที่นำไปใช้ในงานวิจัย ICR mouseนิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้ จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านแบคทีเรีย , ไวรัส , เชื้อรา , ปรสิต เป็นต้นพยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาเนื้องอก (Oncology), ศึกษาเปรียบเทียบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ (Comparative pathology study) เป็นต้นเภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing) , ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing) , การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้นสรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ เป็นต้น Wistar rat และ Sprague Dawley ratนิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้ โภชนาการ (Nutrition) ได้แก่ การศึกษาประโยชน์และโทษของโภชนะต่างๆ เป็นต้นพยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาด้านการเกิดเนื้องอก เป็นต้นเภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้นสรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ, ระบบไหลเวียนเลือด , พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral study) เป็นต้น Dunkin Hartley Guinea-pigนิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้ โภชนาการ (Nutrition) หนูตะเภามีความต้องการสารอาหารสูง โดย เฉพาะ กรด…

อุปกรณ์ช่วยยึดจับบังคับสัตว์ทดลอง(Jugular veins)

อุปกรณ์ช่วยยึดจับบังคับสัตว์ทดลองสำรหับใช้ในกระบวนการเก็บเลือดจากคอ (Jugular veins) ประดิษฐ์ขึ้นจากเศษวัสดุเหลือใช้จากงานช่างเช่น เศษไม้ แผ่นฟอร์ไมก้าและตำปู สามารถนำมาใช้ในการช่วยยึดจับ บังคับสัตว์ทดลองให้อยู่นิ่ง เหมาระสมกับการกำหนดจุดในการเก็บเลือดจากคอของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี โดยที่สัตว์ทดลอง ไม่ทรมานหรือก่อให้เกิดความเครียดต่อผู้ปฏิบัติงานและสัตว์ทดลอง สามารถลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องมือจับบังคับสัตว์ทดลอง (Restraint) จากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพงมา

การทำ Overiectomy ในสัตว์ทดลอง

ปัจจะบันการทำ ovariectomy สามารถทำได้ 3 วิธี ได้แก่ dorsal midline skin incision, double dorsolateral incision และ single ventral incision ซึ่งทุกวิธีที่กล่าวมา ต้องวางยาสลบและทำการผ่าตัดสัตว์ทดลองภายใต้หลักการ aseptic technique

การพัฒนา Arterio-Venous Shunt Model ในหนูแรท

โมเดล Arterio-Venous shunt เป้นการสร้างทางเชื่อมระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเดือดดำ เพื่อให้มีการไหลเวียนเลือดจากเส้นเลือดแดงไปยังเส้นเลือดดำโดยตรง ซึ่งสามารถใช้เป็น Animals model สำหรับงานวิจัยและงานทดสอบต่างๆ เช่น การศึกษาระบบการไหลเวียนของเลือด (blood circulation)