Animal model
Animal model หมายถึง สัตว์ที่เป็นตัวแทนของสิ่งที่เราต้องการศึกษา (ที่มา; สำนักงานมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์) ในงานวิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะความเจ็บป่วยของมนุษย์ จะมีการใช้สัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยวิธีการต่างๆ ให้เกิดภาวะความผิดปกติที่ผู้ศึกษาสนใจเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษา
งานการสัตวแพทย์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการศึกษาและพัฒนาการทำ Animal model อย่างต่อเนื่องโดยดำเนินการพัฒนา Animal model ด้วยวิธีการผ่าตัด (Surgical animal model) ซึ่ง Surgical animal model ที่กำลังพัฒนาผ่านการฝึกอบรม หรือพัฒนา ได้แก่
- การทำ Arterio-Venous shunt สร้างทางเชื่อมระหว่างเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำ ให้การไหลเวียนเลือดจากเส้นเลือดแดงไปยังเส้นเลือดดำโดยตรง เพื่อใช้เป็น Animals model สำหรับงานวิจัยและงานทดสอบต่างๆ เช่น กลไกการทำงานและการออกฤทธิ์ของยาหรือสารต่างๆต่อการออกฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (Takayuki et al., 2012 )
- การทำ Hypophysectomy หรือการผ่าตัดต่อมพิทูอิทารีออก สำหรับรองรับงานวิจัยเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ Growth hormone ในระดับก่อนคลินิก (Preclinical triall) (Closset et al., 1991)
- การทำ Ovariectomy โดยการผ่าตัดเอารังไข่ของสัตว์ทดลองเพศเมียออกไปเพื่อเป็น Animal model สำหรับงานวิจัยหรืองานทดสอบต่างๆ เช่น การขาดฮอร์โมน Estrogen ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในสัตว์ทดลอง (Jee and Yao, 2001)
Surgical model อื่นๆ ได้แก่
- Adrenalectomy
- Thymectomy
- การตัดต่อเส้นเลือดขนาดเล็กและการใส่/สอดท่อในเส้นเลือด Femoral artery & vein
- Myocardial infarction
- Splenectomy
- Stroke model
- Cannulation/intubation and/or Jugular vein catheterization