การควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นความสำคัญ สำหรับการควบคุมและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อโรค จากสิ่งแวดล้อม และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทดลอง ในระบบ Maximum Barrier และ Low Barrier/Strict hygienic conventional (SH conventional)
การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- การทดสอบทางกายภาพ (Physical monitoring)
- อาหาร (รูปร่าง ขนาด สี กลิ่น แมลง และสิ่งแปลกปลอม อื่นๆ)
- น้ำดื่มและน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ (กลิ่น สี รส และความขุ่น)
- วัสดุรองนอน (รูปร่าง ขนาด กลิ่น ความคม แมลง และสิ่งแปลกปลอม อื่นๆ)
- อากาศ (การระบายอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศภายในห้องเลี้ยง)
- แสงสว่าง (ความเข้มของแสง)
- การทดสอบทางเคมี (Chemical monitoring)
- อาหาร (ปริมาณสารอาหาร)
- น้ำดื่มและน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ (ปริมาณคลอรีนและวิตามินซี*)
- อากาศ (ปริมาณก๊าซแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน)
- การทดสอบทางจุลชีพ (Microbiological monitoring)
- อาหาร (Aerobic plate count (APC), Total coliform count (TCC), Salmonella Total mold count (TMC) and Sterility test)
- น้ำดื่มและน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ (APC, Pseudomonas aeruginosa and Sterility test)
- วัสดุรองนอน (APC and Sterility test)
- กรงเลี้ยงและกล่องขนส่ง (APC and Sterility test)
- อากาศ (APC)
- พื้นและผนังห้อง (APC)
- สารเคมีกำจัดเชื้อโรค (% Effective to standard bacteria)
Environmental monitoring of NLAC-MU
