Mlac:ICR

เมาส์
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- Mus musculus
- สายพันธุ์
- MLAC:ICR
- แหล่งที่มา
- ประเทศญี่ปุ่น (ค.ศ.1980)
ข้อมูลทางชีววิทยา
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย
- เพศผู้ 20-40 กรัม
- เพศเมีย 20-35 กรัม
- น้ำหนักลูกแรกเกิด
- 1-1.5 กรัม
- น้ำหนักเมื่อหย่านม
- 8-14 กรัม (อายุ 21 วัน)
- อายุขัยเฉลี่ย
- 2-2.5 ปี
- อายุที่ใช้ผสมพันธุ์
- เพศผู้ 6-8 สัปดาห์ (น้ำหนัก 25-40 กรัม)
- เพศเมีย 6-8 สัปดาห์ (น้ำหนัก 25-40 กรัม)
- วงรอบการเป็นสัด
- 4-5 วัน
- ระยะเวลาเป็นสัด
- 10 ชั่วโมง
- ระยะเวลาตั้งท้อง
- 19-21 วัน
- อายุลูกสัตว์ที่หย่านม
- 19-21 วัน
- ขนาดครอก
- 1- 23 ตัว (เฉลี่ย 14 ตัว)
- การลืมตาหลังคลอด
- 12 วันหลังคลอด
- จำนวนเต้านม
- 5 คู่ (หน้าอก 3 คู่, หน้าท้อง 2 คู่)
- ปริมาณการกินอาหาร
- 3-6 กรัม/ตัว/วัน (โตเต็มวัย)
- ปริมาณการกินน้ำ
- 3-8 มิลลิลิตร/ตัว/วัน (โตเต็มวัย)
อัตราการเจริญเติบโต

การจัดการงานเลี้ยง
- ระบบการผสมพันธุ์
หนูเมาส์ของศูนย์ฯ ใช้ระบบการผสมพันธุ์ 2 ระบบ ดังนี้
- Maximum Avoidance of inbreeding สำหรับการสืบสายพันธุ์ในกลุ่มพ่อแม่พันธุ์ (Foundation stock) และเก็บรักษาสายพันธุ์ในรูปตัวอ่อนแช่แข็ง
- Random mating system สำหรับการเพาะขยายพันธุ์เพื่อบริการ (Production stock)
- สภาพแวดล้อม
มีการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในห้องเลี้ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น อุณหภูมิ และความชื้น การระบายอากาศ ดังนี้
- อุณหภูมิที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 22±2 องศาเซลเซียส
- ความชื้นที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 55±10% RH
- อัตราการระบายอากาศ 15-20 ACH
- ระยะเวลาการให้แสงสว่าง 12:12 ชั่วโมง
- ควบคุมเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล
- การให้อาหารและน้ำ
ศูนย์ฯ ให้อาหารเบอร์ 082 ที่ผลิตโดยบริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งผลิตตามข้อกำหนดที่ทางศูนย์ฯ ระบุโดยให้กินอย่างเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ในแต่ละวันสำหรับน้ำที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทดลอง จะเป็นน้ำ RO ที่ผสมคลอรีนความเข้มข้น 5-6 ppm. เพื่อให้ปราศจากเชื้อPseudomonas aeruginosa และน้ำจะถูกบรรจุใส่ขวดพร้อมด้วยหลอดเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์
- การใช้วัสดุรองนอน
วัสดุรองนอนที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทดลอง ทำมาจากแกนข้าวโพด (Corn cob) ผสมผักตบชวา (Water Hyacinth) ทั้งนี้ วัสดุรองนอนที่แห้งจะถูกบรรจุด้วยถุงกระดาษสีน้ำตาล และผ่านการอบนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 นาที ก่อนนำน้ำไปใช้งาน
ICR mouse
- จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้นแบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา, ปรสิต เป็นต้น
- พยาธิวิทยา (Pathology) ได้แก่ การศึกษาด้านการเกิดเนื้องอก (Oncology), ศึกษาเปรียบเทียบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ (Comparative pathology study) เป็นต้น
- เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การทดสอบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
- สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ, ระบบไหลเวียนเลือด, พฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral study) เป็นต้น
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้