Mlac:NZW

กระต่าย
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- Oryctolagus cuniculus
- สายพันธุ์
- Mlac:NZW
- แหล่งที่มา
- Harlan Co., Ltd. The Natherlands (2000) and National University of Singapore (2007)
- สีขน
- สีขาว หรือ Albino
ข้อมูลทางชีววิทยา
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย
- เพศผู้ 3-5 กิโลกรัม
- เพศเมีย 3-5 กิโลกรัม
- น้ำหนักลูกแรกเกิด 30-80 กรัม
- อายุขัยเฉลี่ย
- 5-8 ปี
- อายุที่ใช้ผสมพันธุ์
- เพศผู้ 7-8 เดือน
- เพศเมีย 7-8 เดือน
- วงรอบการเป็นสัด
- ไม่มีรอบการเป็นสัดที่แน่นอน เพศเมียสามารถนำกลับมาผสมพันธุ์ได้อีกครั้ง หลักจากคลอดลูก ประมาณ 4-6 วัน
- ระยะเวลาตั้งท้อง
- 29-35 วัน
- อายุลูกสัตว์ที่หย่านม
- 4-6 สัปดาห์ ที่นำหนักตัวมากกว่า 900 กรัม
- ขนาดครอก
- 4-10 ตัว
- การลืมตาหลังคลอด
- 10-12 วัน
- ปริมาณการกินอาหาร
- สถานะ/อายุ
- ปริมาณอาหาร
- 3-6 สัปดาห์
- 50-75 กรัม/วัน
- 6-8 สัปดาห์
- 125-150 กรัม/วัน
- 8-10 สัปดาห์
- 30-40 กรัม/1.8-2.3 กิโลกรัม/วัน
- เพศผู้โตเต็มวัย
- 110-175 กรัม/วัน
- เพศเมียระยะตั้งท้อง
- 175-225 กรัม/วัน
- เพศเมียระยะให้นมลูก
- 225-450 กรัม/วัน
- (ลูกกระต่ายสามารถกินอาหารได้เมื่ออายุประมาณ 16-18 วัน นอกจากนั้นปริมาณการกินอาหารของกระต่ายขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ น้ำและปัจจัยอื่นๆ)
- ปริมาณการดื่มน้ำ
- 120 ซีซี/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน (ควรให้น้ำอย่างไม่จำกัด)
- อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกาย
- 102.5 องศาฟาเรนไฮน์
- อัตราการเต้นของหัวใจ
- 130-325 ครั้ง/นาที
- อัตราการหายใจ
- 32-60 ครั้ง/นาที
- ฟัน
- 2 (ฟันหน้า 2/1, เขี้ยว 0/0, ฟันกรามเล็ก 3/2, ฟันกราม 3/3) = 28 (ฟันกระต่ายจะงอก
ออกมาอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการเจริญเติบโต

การจัดการงานเลี้ยง
- ระบบการผสมพันธุ์
กระต่ายของศูนย์ฯ ใช้ระบบการผสมพันธุ์ 2 ระบบ ดังนี้
- Maximum avoicedance breeding system ใช้เพื่อการผสมพันธุ์ในกลุ่มการสืบสายพันธุ์
- Group mating system ใช้เพื่อการผสมพันธุ์ในกลุ่มการเพาะขยายพันธุ์
- สภาพแวดล้อม
กระต่ายของศูนย์ฯ ได้รับการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ การระบายอากาศ อุณหภูมิ และความชื้น
- อุณหภูมิที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 22±2 องศาเซลเซียส
- ความชื้นที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 55-90%
- อัตราการระบายอากาศ 15-20 รอบต่อชั่วโมง
- ระยะเวลาการให้แสงสว่าง 12 ชั่วโมง และมืด12 ชั่วโมง
- ควบคุมเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล
- การเลี้ยง
กรงแขวนเป็นกรงที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกระต่ายเพื่องานทางวิทยาศาสตร์และการทดลองต่างๆ กรงสำหรับเลี้ยงกระต่ายไม่ควรมีส่วนแหลมคมหรือขรุขระ โครงสร้างของกรงต้องแข็งแรงและขนาดของกรงต้องเหมาะสมกับน้ำหนักของกระต่าย ส่วนแม่พันธุ์ใกล้คลอดจะถูกแยกไปเลี้ยงในกรงคลอดเป็นเวลา 3 วัน ก่อนคลอดและในกรงคลอดจะมีรังคลอดบรรจุอยู่เพื่อใช้สำหรับคลอดลูก กรงกระต่ายควรได้รับการทำความสะอาดอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือขึ้นอยุ่กับความสะอาดของกรง
- การให้อาหารและน้ำ
กระต่ายเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยวที่ชอบกินพืชที่มีเยื่อใยสูง และมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตในระดับที่เหมาะสม ได้แก่ ใบไม้ หญ้า ในศูนย์ฯ กระต่ายได้รับอาหารเม็ด (โปรตีนไม่น้อยกว่า 10%) ที่ผลิตโดยบริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด และมีหญ้าแห้งที่ผ่านการอบนึ่งฆ่าเชื้อให้กินตลอดเวลาปริมาณน้ำที่กระต่ายดื่มเข้าไปในแต่ละวันนั้นส่วนใหญ่มีผลมาจากสภาพแวดล้อม เช่น กระต่ายจะกินน้ำมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิในห้องเลี้ยงสูงขึ้น นอกจากนั้นการให้กระต่ายกินอาหารปริมาณมากเกินไปจะทำให้กระต่ายกินน้ำเพิ่มขึ้นด้วยในศูนย์ฯ น้ำดื่มสำหรับกระต่ายเป็นน้ำ RO ที่ผสมคลอรีนความเข้มข้น 5-6 ppm. เพื่อให้ปราศจากเชื้อPseudomonas aeruginosa และน้ำดื่มของกระต่ายมีการเปลี่ยนทุกวัน
- การใช้วัสดุรองนอน
วัสดุรองนอนที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทดลอง ทำมาจากแกนข้าวโพด (Corn cob) ผสมผักตบชวา (Water Hyacinth) สำหรับถาดรองกรงเลี้ยงกระต่ายในกรงแขวน ซึ่งช่วยในการดูดซึมปัสสาวะ อาจจาระและของเสียอื่นๆ
Mlac:NZW
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
-
- พยาธิวิทยา (Pathology) กระต่ายเป็นแหล่งของสารที่เร่งให้เกิดลิ่มเลือด และนิยมนำเลือดไปผลิตแอนตี้ซีรั่ม เป็นต้น
- เภสัชวิทยา (Pharmacology) ได้แก่ การทดสอบความปลอดภัยของยาชนิดต่างๆ (Drug testing), ทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน (Vaccine testing), การบความเป็นพิษ (Toxicology) เป็นต้น
- สรีรวิทยา (Physiology) ได้แก่ การศึกษาทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์, วิทยาการต่อมไร้ท่อ เป็นต้น