Mlac:DH

ตะเภา
- ชื่อวิทยาศาสตร์
- Cavia porcellus
- สายพันธุ์
- Mlac:DH
- แหล่งที่มา
- B&K Universal Limited, England (1997) and National Univertisy Singapore (2007)
- สีขน
- สีขาว หรือ Albino
ข้อมูลทางชีววิทยา
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย
- เพศผู้ 1,000-1,200 กรัม
- เพศเมีย 900-1,000 กรัม
- อายุขัยเฉลี่ย
- 4-7 ปี
- อายุที่ใช้ผสมพันธุ์
- เพศผู้ 10-12 สัปดาห์ (น้ำหนัก 700 - 800 กรัม)
- เพศเมีย 8-10 สัปดาห์ (น้ำหนัก 500 - 700 กรัม)
- วงรอบการเป็นสัด
- 15-19 วัน
- ระยะเวลาไข่ตก
- 6-11 ชั่วโมง
- ระยะเวลาตั้งท้อง
- 59-72 วัน
- อายุลูกสัตว์ที่หย่านม
- 14-21 วัน (มากกว่า 180 กรัม)
- ขนาดครอก
- 1-6 ตัว (เฉลี่ย 4 ตัว)
- ระยะเวลาให้ผลผลิต
- 18-24 เดือน
- การเป็นสัดหลังคลอด
- 60-80%
- น้ำหนักแรกคลอด
- 65-115 กรัม
- ปริมาณการกินอาหาร
- 6 กรัม/น้ำหนักตัว 100 กรัม/วัน
- ปริมาณการกินน้ำ
- 10-40 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 100 กรัม/วัน
- อุณหภูมร่างกาย
- 37.2-39.5 องศาเซลเซียส
- อายุเริ่มกินอาหารได้
- 2-3 วันหลังเกิด
- ฟัน
- 2(ฟันหน้า 1/1, ฟันเขี้ยว0/0, ฟันกรามเล็ก1/1, ฟันกราม 3/3)
- การเปิดของตาและหู
- แรกเกิด
อัตราการเจริญเติบโต

การจัดการงานเลี้ยง
- ระบบการผสมพันธุ์
การสืบสายพันธุ์และการเพาะขยายพันธุ์หนูตะเภามีระบบการผสมพันธุ์แบบ Polygamous โดยมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:5 อยู่ด้วยกันตลอดเวลา
- การจัดการสภาพแวดล้อม
มีการควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ การระบายอากาศ อุณหภูมิ และความชื้น ภายใต้ระบบ HVAC
- อุณหภูมิที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 24±2 องศาเซลเซียส
- ความชื้นที่ควบคุมอยู่ระหว่าง 55±10%
- อัตราการระบายอากาศ 15-20 รอบต่อชั่วโมง
- ระยะเวลาการให้แสงสว่าง 12 ชั่วโมง และมืด12 ชั่วโมง
- หนูตะเภาเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจต่อเสียงง่าย ภายในห้องเลี้ยงจะควบคุมเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล
- การให้อาหารและน้ำ
อาหารที่ใช้เลี้ยงหนูตะเภาเป็นอาหารสำเร็จรูปผลิตโดยบริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งจะให้กินอย่างเพียงพอตามความต้องการตลอดเวลา และให้หญ้าแห้งที่ผ่านการอบนึ่งฆ่าเชื้อเพื่อเป็นแหล่งเสริมเยื่อใยและเป็นวัสดุคลายเครียด น้ำที่ให้จะเป็นน้ำที่ผ่านการกรองแบบรีเวิสออสโมซีส(RO) ที่ผสมคลอรีนความเข้มข้น 5-6 ppm. เพื่อให้ปราศจากเชื้อPseudomonas aeruginosa
- การใช้วัสดุรองนอน
หนูตะเภาเลี้ยงในกรงแขวน จึงไม่มีการใช้วัสดุรองนอน แต่มีการใช้แกนข้าวโพดอบฆ่าเชื้อสำหรับดูดซับปัสสาวะในถาดรองกรง
Mlac:DH
นิยมนำไปศึกษาและวิจัยทางด้านต่างๆ ดังนี้
-
- โภชนาการ (Nutrition) หนูตะเภามีความต้องการสารอาหารสูง โดย เฉพาะ กรด Folic, Thiamine, Arginine และ Potassium เหมาะสำหรับ ศึกษาด้านโภชนาการ เป็นต้น
- จุลชีววิทยา (Microbiology) ได้แก่ การทดสอบกับเชื้อ Coxiella burnetii, Mycobacterium sp. และ Listerisium sp. เป็นต้น
- พยาธิวิทยา (Pathology) หนูตะเภานิยมใช้ในงานวิจัยด้านโรคภูมิแพ้และใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาบาดแผล กระดูก ฟัน และโรคกระดูกพรุน และมีการนำไปใช้ในการทดสอบยากันแมลงโดยใช้เป็นแหล่งอาหารของแมลงดูดกินเลือด
- สรีรวิทยา (Physiology) หนูตะเภามีดครงสร้างหูที่เหมาะสมต่อการศึกษาเกี่ยวกับช่องหู และลูกหนูแรกเกิดใช้ในการศึกษาด้านประสาทวิทยา